บทความ

การเสวนาวิชาการพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการปรับเปลี่ยนพัฒนาการดนตรีและนาฏกรรมของชาติ พ.ศ. 2468 – 2477 (วิกฤตและโอกาส)



 
การเสวนาวิชาการพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการปรับเปลี่ยนพัฒนาการดนตรีและนาฏกรรมของชาติ พ.ศ. 2468 – 2477 (วิกฤตและโอกาส)
 
แม้เกิดสถานการณ์ “วิกฤต” ในงานศิลปวัฒนธรรมของชาติแต่ถือได้ว่าเกิดเป็น “โอกาส” ให้งานดนตรี และนาฏกรรมได้รับการปรับปรุง และพัฒนาอย่างเป็นระบบการสืบทอดองค์ความรู้ จากความสามารถ และประสบการณ์ของบุคลากรทางดนตรีและนาฏกรรม มาจดบันทึกร่วมกับวิทยาการตะวันตกและเทคโนโลยีต่างๆดังเช่น การบันทึกเพลงไทยด้วยตัวโน้ตสากล การบันทึกแผ่นเสียง การถ่ายทำภาพยนตร์ นับเป็นประโยชน์ในการถ่ายทอดพัฒนา และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติ ทั้งเป็นแบบแผนของการเรียนการสอนดนตรีและนาฏกรรมในสถานศึกษาทั้งภาครัฐ และเอกชน ระดับชั้นต่างๆ องค์ความรู้แพร่หลายเป็นวงกว้างและเข้าถึงได้ง่ายในคนทุกกลุ่มทุกชนชั้น
 
ด้านความบันเทิงในสังคม
 
บุคลากรทางดนตรีและนาฏกรรมที่มีอาชีพและสร้างรายได้จากการแสดงในสถานบันเทิงต่างๆจนเกิดเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจบันเทิง มีวงดนตรีสากล วงดนตรีแจ๊ส คณะนักร้องประสานเสียง ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ดนตรีสากลเข้ามามีอิทธิพล จึงทำให้ค่านิยมความบันเทิงในสังคมเมืองหลวงค่อยๆเกิดความเปลี่ยนแปลง ดนตรีตะวันตกได้รับความสนใจจนเกิดเป็นกระแสนิยม การทำงานในด้านดนตรีไทยและนาฏกรรมก็ค่อยๆปรับตัว ดังเช่น เพลงไทยพัฒนาเป็นเพลงไทยสากล บทละครร้องนำไปเป็นบทภาพยนตร์ นักแสดงละครร้องผันตัวเป็นนักแสดงภาพยนตร์ ก่อเกิดธุรกิจแผ่นเสียง ธุรกิจเพลงไทยสากล ธุรกิจภาพยนตร์ วงดนตรีต่างๆ ในเวลาต่อมา และพัฒนาเป็นธุรกิจบันเทิงที่ได้รับความนิยมอย่างในปัจจุบัน
 
ท่านสามารถฟังย้อนหลังการเสวนาวิชาการเเบบฉบับเต็ม (ทั้งเช้าและบ่าย) ได้ที่ ลิ้งก์ด้านล่างนี้
 
(Ep:1 ช่วงเช้า) : https://youtu.be/4YtUmjq6kOM?si=iLelmIaLRu-WREwN
(Ep:2 ช่วงบ่าย) : https://youtu.be/hu9d1_73THA?si=anagDeeQXEA_fsJK